รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ (Shape of covalent molecules)
พันธะโคเวเลนต์เป็นพันธะที่มีทิศทางและมุมระหว่างพันธะที่แน่นอน
เนื่องจากการสร้างพันธะเกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมที่สร้างพะนธะกัน
โดยอาจมีอิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้ในการสร้างพันธะหรือที่เรียกว่าอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลืออยู่ด้วยก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะหรืออิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ต่างก็มีประจุลบเหมือนกัน จึงมีแรงผลัก (repulsion)
ซึ่งกันและกัน ผลของแรงผลักจะทำให้พันธะแยกตัวอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลระหว่างแรงผลักที่มีต่อกัน
ทำให้เกิดขนาดของมุมระหว่างพันธะที่เหมาะสมและเกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลขึ้นมาได้
รูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลจะเป็นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับโครงสร้างโมเลกุลของสารแต่ละชนิด ว่าประกอบด้วยอะตอมจำนวนเท่าไร
มีการสร้างพันธะอย่างไร และมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือไม่
ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมเพียง 2 อะตอม จะมีรูปร่างเป็นเส้นตรง (Linear) เสมอ เช่น H2 F2 Cl2 Br2 I2 N2 O2 HCl HBr HI ... แต่ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม รูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลจะเป็นไปได้หลายแบบ การพิจารณาว่ารูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลเป็นอย่างไร ให้เริ่มพิจารณาที่อะตอมกลางของโมเลกุล โดยมีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมเพียง 2 อะตอม จะมีรูปร่างเป็นเส้นตรง (Linear) เสมอ เช่น H2 F2 Cl2 Br2 I2 N2 O2 HCl HBr HI ... แต่ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม รูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลจะเป็นไปได้หลายแบบ การพิจารณาว่ารูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลเป็นอย่างไร ให้เริ่มพิจารณาที่อะตอมกลางของโมเลกุล โดยมีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
1. พิจารณาว่ามีพันธะรอบอะตอมกลางกี่พันธะ (พันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม นับเป็น 1 พันธะเท่ากัน)
2. พิจารณาว่ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือไม่ ถ้ามีต้องดูว่ามีกี่คู่
3. นำโครงสร้างโมเลกุลที่ได้จากข้อ 1 และ 2 ใช้ร่วมกับทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน ( VSEPR ) เพื่อบอกรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล
2. พิจารณาว่ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือไม่ ถ้ามีต้องดูว่ามีกี่คู่
3. นำโครงสร้างโมเลกุลที่ได้จากข้อ 1 และ 2 ใช้ร่วมกับทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน ( VSEPR ) เพื่อบอกรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล
ทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน (Valence Shell Electron Pair Repulsion , VSEPR) คิดค้นขึ้นโดย โรนัลด์ กิลเลสพาย และ เซอร์โรนัลด์ ซิดนีย์ ไนโฮล์ม เมื่อ พ.ศ. 2500 ใช้สำหรับทำนายรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลโคเวเลนต์ โดยดูจากจำนวนพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (Stearic number) รอบอะตอมกลาง จากสูตรโครงสร้างแบบลิวอิส แล้วจำลองให้เป็นรูปทรงสามมิติ โดยมีหลักการว่าอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง ทั้งอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จะมีแรงผลักซึ่งกันและกันทำให้อยู่ห่างกันที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้มีมุมระหว่างพันธะที่เหมาะสม จึงเกิดเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ขึ้นมาได้
กำหนดสัญลักษณ์
ของโครงสร้างโมเลกุลตามทฤษฎี
VSEPR ด้วยสูตร AXE (หรืออาจใช้ตัวอักษรอื่น เช่น ABE
แต่ความหมายเดียวกัน) ฉะนั้นเมื่อกล่าวว่าให้เขียนสัญลักษณ์
VSEPR จึงหมายถึงให้เขียนสูตร AXE ว่าเป็นแบบใด ตัวอักษรในสูตรมีความหมายดังนี้
A = อะตอมกลางของโมเลกุล
X = จำนวนพันธะรอบอะตอมกลาง
(พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม
นับเป็น 1 พันธะเหมือนกัน)
E = จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลาง
(นับเป็นคู่ ๆ)
ตัวอย่าง สารที่มีโครงสร้างโมเลกุลดังนี้
เมื่อแสดง VSEPR ด้วยสูตร AXE ความหมายของตัวอักษรแต่ละตัวจะเป็นดังนี้
A หมายถึงอะตอมกลางของโมเลกุล กรณีของตัวอย่างนี้หมายถึง
N
X หมายถึงจำนวนพันธะรอบอะตอมกลาง กรณีนี้
คือ 3 พันธะ
E หมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวรอบอะตอมกลาง กรณีนี้
คือ 1 คู่
** สัญลักษณ์ VSEPR ของสารนี้คือ AX3E1
คำถาม จงพิจารณาว่าสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลดังต่อไปนี้
เมื่อใช้อะตอมหมายเลข 1 2 และ
3 เป็นอะตอมกลางแล้ว จะมีสัญลักษณ์
VSEPR หรือสูตร AXE อย่างไรบ้าง
คำตอบ 1. เมื่ออะตอมหมายเลข
1 เป็นอะตอมกลาง สัญลักษณ์
VSEPR คือ AX2E2
2. เมื่ออะตอมหมายเลข 2 เป็นอะตอมกลาง สัญลักษณ์
VSEPR คือ AX3E0
3. เมื่ออะตอมหมายเลข 3 เป็นอะตอมกลาง
สัญลักษณ์ VSEPR คือ AX4E0
คำถาม จงพิจารณาว่าสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลดังต่อไปนี้ อะตอมกลางที่มีสัญลักษณ์ VSEPR เป็น
AX3E0 AX4E0 AX3E1 AX2E2 มีชนิดละกี่อะตอม
คำตอบ AX3E0 มี..................อะตอม
AX4E0 มี..................อะตอม AX3E1 มี..................อะตอม AX2E2 มี..................อะตอม
ถ้าโมเลกุลของสารโคเวเลนต์ชนิดต่าง ๆ มีสูตร AXE เหมือนกันก็จะมีรูปทรงเรขาคณิตเหมือนกัน โดยรูปทรงเรขาคณิตแต่ละแบบ
จะมีขนาดของมุมระหว่างพันธะแตกต่างกัน สูตร
AXE รูปทรงเรขาคณิต
ของโมเลกุลและขนาดของมุมระหว่างพันธะ มีดังนี้
ตารางแสดงสูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต และมุมระหว่างพันธะ ของโมเลกุลโคเวเลนต์
สูตร AXE
ของโมเลกุล |
รูปทรงเรขาคณิตของกลุ่มอิเล็กตรอน
รอบอะตอมกลาง |
ภาพแสดงรูปทรงเรขาคณิต
ของโมเลกุล |
สารตัวอย่าง |
มุมระหว่างพันธะ |
|
โมเลกุลอะตอมคู่
(ไม่มีสัญลักษณ์ AXE) |
- |
เส้นตรง (linear) |
HF, O2, H2,N2,Cl2 |
- |
|
AX2E0 |
(เส้นตรง) |
เส้นตรง (linear) |
BeCl2, HgCl2, CO2 |
|
|
AX3E0 |
(สามเหลี่ยมระนาบ) |
สามเหลี่ยมระนาบ (triangle หรือ, trigonal planar) |
BF3, CO32−, NO3−, SO3 |
|
|
AX2E1 |
(สามเหลี่ยมระนาบ) |
มุมงอ (bent , angular) |
NO2−, SO2, O3 |
|
|
AX4E0
|
ทรงสี่หน้า |
ทรงสี่หน้า (tetrahedral) |
CH4, PO43−, SO42−, ClO4−CO32- |
|
|
AX3E1
|
ทรงสี่หน้า |
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม (trigonal pyramid) |
NH3, PCl3 |
|
|
AX2E2 |
ทรงสี่หน้า |
มุมงอ (bent ,angular) |
H2O, OF2 |
|
|
AX5E0 |
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม |
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม (trigonal bipyramid) |
PCl5 |
ในแนวระนาบฐานพีระมิดทำมุมกัน 120 องศา ส่วนส่วนสูงของพีระมิดทำมุม 90 องศากับระนาบ |
|
AX4E1 |
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม |
ม้ากระดก
(see saw) |
SF4 |
|
|
AX3E2
|
พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม |
ตัวที (T-shape) |
ClF3, BrF3 |
น้อยกว่า 90 องศา |
|
AX2E3
|
พีระมิดคู่ ฐานสามเหลี่ยม |
เส้นตรง (linear) |
XeF2, I3− |
180 องศา |
|
AX6E0
|
ทรงแปดหน้า |
ทรงแปดหน้า (octrahedral) |
SF6
|
90 องศา
|
|
AX5E1
|
ทรงแปดหน้า |
พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม (square pyramid) |
ClF5, BrF5 |
90 องศา |
|
AX4E2
|
ทรงแปดหน้า |
สี่เหลี่ยมจัตุรัส (square plana) |
XeF4 |
90 องศา |
|
AX7E0
|
พีระมิดคู่ฐานห้าเหลี่ยม (pentagonal bipyramid) |
พีระมิดคู่ฐานห้าเหลี่ยม (pentagonal bipyramid) |
IF7 |
ในแนวระนาบฐานพีระมิดทำมุมกัน 72 องศา ส่วนส่วนสูงของพีระมิดทำมุม 90 องศากับระนาบ |
|
AX6E1
|
พีระมิดคู่ฐานห้าเหลี่ยม
|
พีระมิดฐานห้าเหลี่ยม
(pentagonal pyramid) |
XeF6 |
ในแนวระนาบฐานพีระมิดทำมุมกัน 72 องศา ส่วนส่วนสูงของพีระมิดทำมุมน้อยกว่า 90 องศากับระนาบ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น